รถไฟฟ้า BTS
Lifestyle

เปิดโลกความรู้เกี่ยวกับ รถไฟฟ้า BTS

ในปัจจุบันการเดินทางในชีวิตการทำงานทุกเช้าของชาวเมืองกรุงนั้น ต้องอาศัยรถโดยสารสาธารณะเป็นหลักเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเกิดขึ้นถูกวัน และหนึ่งในรถโดยสารที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ “รถไฟฟ้า BTS” นั้นเองครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปดูกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ “รถไฟฟ้า BTS”

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช) และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน) โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 8 สาย 141 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 211.94 กิโลเมตร

ปัจจุบันรถไฟฟ้า BTS มีกี่สาย

ปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ภายใต้ “โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งแต่เดิมโครงการมีเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 เส้นทาง โดยรวมเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสที่กำลังก่อสร้างในขณะนั้น และต่อมาได้มีการขยายออกเป็นทั้งหมด 12 เส้นทางในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่….

สายสีเขียวเข้ม + รถไฟฟ้าสีเขียวเข้มส่วนตัวขยาย

สายสีเขียวอ่อน

สายสีเทา

สายสีทอง

สายสีเหลือง

สายสีชมพู

MRT เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย <รฟม.> รับผิดชอบดูแลก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายสายสีน้ำเงินสายสีม่วง

สายสีส้ม

Airport Rail Link เจ้าของโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย <ร.ฟ.ท.> รับผิดชอบดูแลก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย

Airport Rail Link

สายสีแดงเข้ม

สายสีแดงอ่อน

ทำไมใช้ร่วมกันไม่ได้

BTS หน่วยงานขนส่งมวลชนกรุงเทพ (กทม.) รับผิดชอบการก่อสร้าง จำนวน 5 เส้นทาง คือ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อนเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีเป็นแห่งแรก สายสีฟ้า ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ สายสีเทาเชื่อมวัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ สายสีทองในย่านธนบุรีเป็นสายสั้น ๆ เพียง 4 สถานี สายสีเหลืองเชื่อมลาดพร้าว-สำโรง และ

 MRT หน่วยงานการรถไฟฟ้าขนส่งมลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบก่อสร้าง จำนวน 6 เส้นทาง คือ สายสีเขียวเข้มส่วนขยาย เหนือและใต้ เป็นการเชื่อมต่อหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีน้ำเงินแบ่งออกเป็น 2 ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-เตาปูน สายสีม่วง เชื่อมบางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-แยกร่มเกล้า สายสีเหลือง และสายสีชมพูเชื่อมต่อระหว่างมีนบุรีและนนทบุรี จากรัตนาธิเบศร์ สิ้นสุดที่ร่มเกล้า

 ARL หน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบจำนวน 3 เส้นทาง คือ Airport Rail Link เชื่อมเส้นทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ พญาไทและดอนเมือง สายสีแดงเข้ม เชื่อมต่อจากธรรมศาสตร์ถึงบางบอนมหาชัย สายสีแดงอ่อน จากศาลายาไปหัวหมาก

ค่าโดยสารของ BTS, MRT และ Air link  ต่างกันอย่างไรบ้าง?

●รถไฟฟ้า BTS จะเสียค่าโดยสารสูงสุดที่ 44 บาท เมื่อเดินทางจำนวน 8 สถานีขึ้นไป และถ้าหากเดินทางไปยังส่วนต่อขยาย จะเสียเงินเพิ่มอีก 15 บาทด้วย

●รถไฟฟ้า MRT ทั้งสายสีน้ำเงิน และสีม่วง จะเสียค่าโดยสารสูงสุดที่ 42 บาท เมื่อเดินทางจำนวน 11-12 สถานีเป็นต้นไป

มองไปที่อัตราค่าโดยสาร ราคา 23 บาทเท่ากัน > BTS เดินทางได้เพียง 2 สถานี, MRT สายสีม่วง เดินทางได้ 3 ●สถานี และ MRT สายสีน้ำเงิน เดินทางได้ถึง 4 สถานี

●นั่งรถไฟฟ้าสถานีเดียว > MRT สายสีม่วง คิดค่าโดยสารสูงสุดที่ 17 บาท

●นั่งรถไฟฟ้าไกลๆ > รถไฟฟ้า ARL แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ คิดค่าโดยสารสูงสุดที่ 45 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “เปิดโลกความรู้เกี่ยวกับ รถไฟฟ้า BTS” ที่แทคทีมร่วมกับ BTS และ Airport Link ที่เราได้ศึกษาเอาไว้เป็นอความรู้เพื้นฐานกันครับ