ตรวจ ปจ.2
Lifestyle

ตรวจ ปจ.2 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ พิกัดกี่ยกอย่างปลอดภัย เป็นอย่างไร

ปจ.2  คือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น รถเฮี๊ยบ รถโมบายเครน และอื่นๆ ที่คล้ายกัน โดยสามารถเคลื่อนที่ได้ ตรวจ ปจ.2  มีความถี่ในการตรวจสอบอย่างไร พิกัดกี่ยกอย่างปลอดภัย เป็นอย่างไร  โดยกฎหมายได้ระบุความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นเอาไว้ดังต่อไปนี้

1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

  • พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดไม่เกิน 3 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามผู้ผลิตกำหนดมากกว่า 3 ตันให้ทดสอบตามวาระในทุก 3 เดือน

2.ปั้นจั่นที่ใช้งานประเภทอื่น

  • ปั้นจั่นที่ใช้งานประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานก่อสร้างพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1-3 ตันให้ทดสอบทุกวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดการยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด 3-15 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตได้กำหนด หากน้ำหนักมากกว่า 50 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด วิศวกรจะต้องเป็นผู้กำหนดพิกัดการยก สำหรับปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือมีการนำไปซ่อมแซมทำให้มีผลด้านความปลอดภัย ดังนั้น ต้องทดสอบใหม่ก่อนนำกลับมาใช้งานด้วย

นอกจากจะต้องดำเนินการตามพิกัดการยกอย่างปลอดภัยแล้ว น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครนหรือปั้นจั่นตามกฎหมายวิศวกรจะต้องทำการทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่นตามอายุการใช้งานด้วย ถ้าเป็นปั้นจั่นใหม่ ขนาดไม่เกิน 20 ตันให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่าแต่ไม่เกิน 1.25 เท่า หากมากกว่า 20 ตันไม่เกิน 50 ตันให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย ส่วนปั้นจั่นที่ใช้งานแล้วให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงที่สุด ไม่เกินพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด หากกรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดที่ 1 หรือปั้นจั่นชนิดที่ 2 การตรวจปจ. 1 ตรวจปจ. 2 นั้นเป็นไปตามกฎหมายในลักษณะเดียวกัน ปจ. 1 ก็คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ เช่น รอกยกสิ่งของ ลิฟท์ส่งของ ทาวเวอร์เครน เป็นต้น

ตรวจ ปจ.2 หรือ ตรวจ ปจ.1 สำคัญมากๆ ในปัจจุบันคุณจะเห็นได้ว่ามีการนำปั้นจั่นหรือเครนมาใช้จำนวนมากเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องทุ่นแรงที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมต่างๆในช่วงที่ผ่านมามักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากมายจากการใช้งานปั้นจั่นและทำให้เกิดการสูญเสียขึ้น ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน จึงมีการกำหนดให้ทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ปั้นจั่นปี พ.ศ. 2554 ให้วิศวกรเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อจัดทำข้อมูลการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นให้กับทางนายจ้างเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขส่งผลต่อความปลอดภัยของลูกจ้างในการปฏิบัติงาน